วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

6. ลูกเสือ กศน.กับการพัฒนา





6.ลูกเสือ กศน. กับจิตอาสา และการบริการ


สาระสำคัญ   จากคำปฏิญาณของลูกเสือที่ว่า ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อและลูกเสือ กศน. ที่เป็นลูกเสือวิสามัญ ซึ่งถือคติพจน์ว่า บริการจึงเป็นผู้ที่มีจิตอาสา คือ ผู้ที่ไม่นิ่งดูดาย เป็นผู้เอาใจใส่ และเป็นผู้มีจิตสำนึก มีความพร้อมที่จะเสียสละเพื่อส่วนรวม โดยการประพฤติ ปฏิบัติตนมีความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ยอมรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพสิทธิของผู้อื่น ตลอดจนเต็มใจที่ช่วยเหลือและบริการผู้อื่น โดยไม่หวัง ผลตอบแทน 
 ตัวชี้วัด
ๅ          1.อธิบายความหมาย และความสำคัญของจิตอาสา และการบริการ
           2.อธิบายหลักการของจิตอาสา และการบริการ
           3. เสนอผลการปฏิบัติตนในฐานะลูกเสือ กศน. เพื่อเป็นจิตอาสา และการให้บริการ อย่างน้อย 2 กิจกรรม
           4.ยกตัวอย่างกิจกรรมจิตอาสา และการบริการของลูกเสือ กศน.   อย่างน้อย 2 กิจกรรม

ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 จิตอาสา และการบริการ
        1.1  ความหมายของจิตอาสา 
        1.2  ความสำคัญของจิตอาสา 
        1.3  ความหมายของการบริการ            
        1.4  ความสำคัญของการบริการ

เรื่องที่ 2 หลักการของจิตอาสา และการบริการ
          2.1  หลักการของจิตอาสา
          2.2  หลักการของการบริการ

เรื่องที่ 3             การปฏิบัติตนในฐานะลูกเสือ กศน. เพื่อเป็นจิตอาสา  และให้การบริการ
         เรื่องที่ 4 กิจกรรมจิตอาสา และการให้บริการของลูกเสือ กศน.
          เวลาที่ใช้ในการศึกษา  12  ชั่วโมง

สื่อการเรียนรู้
        1.   ชุดวิชาลูกเสือ กศน. รหัสรายวิชา สค22021
        2.   สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา
        3.   สื่อเสริมการเรียนรู้อื่น ๆ 




6.1 เรื่อง จิตอาสา และการบริการ
              1.   ความหมายของจิตอาสา จิตอาสา หมายถึง จิตที่ไม่นิ่งดูดายต่อสังคม หรือความทุกข์ยากของผู้คน และ
ปรารถนาเข้าไปช่วยด้วยจิตที่เป็นสุขที่ได้ช่วยผู้อื่น เพื่อส่วนรวมของคนที่รู้จักความเสียสละ  เอาใจใส่ เป็นธุระ ให้ความร่วมมือร่วมใจในการท าประโยชน์เพื่อส่วนรวม เพื่อช่วยกันพัฒนา คุณภาพชีวิต และปรารถนาเข้าไปช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ด้วยการสละเวลา การลงแรง และสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม และประเทศชาติ
1.            2   ความสำคัญของจิตอาสา ความสำคัญของจิตอาสา เป็นการตระหนักรู้ การแสดงออก ทำประโยชน์
เพื่อสังคม ตลอดจนช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม สาธารณะสมบัติ ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า ให้ความช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก หรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือ โดยใช้คุณธรรมเป็นหลัก 

1.           3   ความหมายของการบริการ   บริการ หมายถึง การให้ความช่วยเหลือหรือการบำเพ็ญประโยชน์ต่อตนเอง
ต่อผู้อื่นและต่อชุมชน ลูกเสือวิสามัญจะต้องมีความเลื่อมใสศรัทธาในคำว่า บริการและลงมือ ปฏิบัติเรื่องนี้อย่างจริงจัง ด้วยความจริงใจ และมีทักษะหรือความสามารถในการให้บริการนั้น ด้วยความชำนาญ ว่องไว คือไว้ใจได้ หรือเชื่อถือได้
1.         4   ความสำคัญของการบริการ ความสำคัญของการบริการ เป็นหัวใจสำคัญของลูกเสือ กศน. ซึ่งต้องพัฒนาจิตใจ
ให้อยู่ในศีลธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ที่ยากจนหรือด้อยกว่า ให้รู้จักการเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น เพื่อจุดมุ่งหมายให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้โดยปกติ ถือว่าเป็น เกียรติประวัติสูงสุดของชีวิต




กิจกรรมท้ายเรื่องที่ 1 จิตอาสา และการบริการ
(ให้ผู้เรียนไปทำกิจกรรมท้ายเรื่องที่ 1 ที่สมดุบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา

 หลักการของจิตอาสา และการบริการ
2.           1 หลักการของจิตอาสา  หลักการของจิตอาสา มีที่มาจากการพัฒนาตนเองให้มีจิตสำนึกที่ดี มีน้ำใจ              
การที่คนมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ย่อมต้องการพึ่งพากัน โดย
          1.    การกระทำของตนเอง ให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง เพื่อป้องกันไม่ให้
เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อส่วนรวม เช่น การมีวินัยในตนเอง การควบคุมอารมณ์และ พฤติกรรม การเชื่อฟังคำสั่ง เป็นต้น
         2.    บทบาทของตนที่มีต่อสังคมในการรักษาประโยชน์ของส่วนรวม เพื่อแก้ปัญหา 
สร้างสรรค์สังคม ซึ่งถือว่าเป็นความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เช่น การเคารพสิทธิผู้อื่น การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น
         2.หลักการของการบริการ
หลักการของการบริการ มีดังนี้
          1.   ให้บริการด้วยความสมัครใจ เต็มใจที่จะให้บริการ
          2.   ให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ คือ มีทักษะในการบริการ เช่น การปฐมพยาบาล
เทคนิคในการช่วยชีวิต เป็นต้น
        3.   ให้บริการแก่ผู้ที่ต้องการรับบริการ เช่น คนที่กำลังจะจมน้ำ ผู้ที่ถูกทอดทิ้ง
คนชรา คนป่วยและผู้ไม่สามารถช่วยตนเองได้ เป็นต้น
         4.   ให้บริการด้วยความองอาจ ตั้งใจทำงานให้เสร็จด้วยความมั่นใจ ด้วยความ
รับผิดชอบ โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง อุทิศให้แก่งานอย่างจริงจัง ในขณะนั้น รู้จักแบ่งเวลา แบ่งลักษณะงาน มีความมุมานะในการท างานให้เป็นผลสำเร็จตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้

กิจกรรมท้ายเรื่องที่ 2 หลักการของจิตอาสา และการบริการ
(ให้ผู้เรียนไปทำกิจกรรมท้ายเรื่องที่ 2 ที่สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา)



 6.3 เรื่อง การปฏิบัติตนในฐานะลูกเสือ กศน. เพื่อเป็นจิตอาสา และการให้บริการ การปฏิบัติตนในฐานะลูกเสือ กศน. เพื่อเป็นจิตอาสาและการให้บริการ ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง และความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนี้  
ความรับผิดชอบต่อตนเอง เป็นผู้มีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเอง
ซึ่งนับว่าเป็นพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม มีดังนี้
        1.   ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนหาความรู้
        2.   รู้จักการออกก าลังกาย เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
        3.   มีความประหยัดรู้จักความพอดี
        4.   ประพฤติตัวให้เหมาะสม ละเว้นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย
        5.   ท างานที่รับมอบหมายให้สำเร็จ
        6.   มีความรับผิดชอบ ตรงเวลา สามารถพึ่งพาตนเองได้
ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นการช่วยเหลือสังคม ไม่ทำให้ผู้อื่น หรือสังคม
เดือดร้อนได้รับความเสียหาย ได้แก่
        1.   มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว เช่น เชื่อฟังพ่อแม่ ช่วยเหลืองานบ้าน ไม่ทำให้
พ่อแม่เสียใจ
         2.   มีความรับผิดชอบต่อสถานศึกษา ครูอาจารย์ เช่น ตั้งใจเล่าเรียน เชื่อฟัง
คำสั่งสอนของครูอาจารย์ ปฏิบัติตามกฎระเบียบวินัยของสถานศึกษา ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติ สถานศึกษา
         3.   มีความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่น เช่น ให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำไม่เอาเปรียบ
ผู้อื่น เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
         4.   มีความรับผิดชอบในฐานะพลเมือง เช่น ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม
ปฏิบัติตามกฎหมาย รักษาสมบัติของส่วนรวม ให้ความร่วมมือต่อสังคมในฐานะพลเมืองดี 

การปฏิบัติตนในฐานะลูกเสือ กศน. เพื่อการบริการ ต้องตระหนักในสิ่งต่อไปนี้  
        1.   บริการแก่ตนเองก่อน เป็นการเตรียมตนเองให้พร้อมที่จะให้บริการตนเองก่อน
ทั้งในด้านการเงิน สุขภาพ เวลาว่าง สติปัญญา ฯลฯ หากยังไม่มีความพร้อม ก็ไม่อาจให้บริการ แก่ผู้อื่นได้ หรือได้ก็ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะตราบใดที่เรายังต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น หรือ ต้องอยู่ภายใต้การโอบอุ้มค้ำชูของผู้อื่น ต้องขอให้ผู้อื่นช่วยเหลือเรา แสดงว่าเรายังไม่พร้อม ฉะนั้น ลูกเสือ กศน. ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อการบริการ
        2.   บริการแก่หมู่คณะ เมื่อฝึกบริการตนเองแล้ว ต้องขยายการให้บริการแก่หมู่คณะ
ในการหาประสบการณ์ หรือความชำนาญ ด้วยการบริการเป็นรายบุคคล บริการแก่ครอบครัว บริการแก่บุคคลใกล้ชิด อันเป็นส่วนรวม ลูกเสือ กศน. ทุกคนควรมีประสบการณ์ภาคปฏิบัติ ในการเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือหมู่คณะด้วยการปฏิบัติตนให้เป็นคนสนุกสนาน ร่าเริง เป็นมิตร กับคนทุกคน ซื่อสัตย์สุจริต มีกริยาสุภาพ และใช้วาจาสุภาพไม่หยาบโลน
         3.   บริการแก่ชุมชน เมื่อฝึกบริการแก่ตนเอง และบริการแก่หมู่คณะแล้ว สมควร
ที่จะไปบริการแก่ชุมชนตามสติปัญญา ประสบการณ์ และความสามารถแนวคิดในการบริการ แก่ชุมชน คือ การชำระหนี้แก่ชุมชนด้วยการร่วมมือ เสียสละร่วมกัน เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรม อันเป็นสาธารณประโยชน์ เช่น การพัฒนาอาคาร สถานที่ บ้านเมืองในชุมชนนั้น การสร้าง สาธารณสถาน เช่น ทำความสะอาด การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ การควบคุมการจราจร การดับเพลิง การจัดงานรื่นเริง งานสังคม เพื่อประโยชน์ของสังคมนั้น ๆ ซึ่งจะทำให้ลูกเสือ กศน. ได้ประสบการณ์จากชีวิตจริง สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่อาศัยอยู่ได้ สามารถประกอบอาชีพ ได้โดยปกติสุข เพราะได้รับการฝึกให้รู้จักเสียสละ เพื่อบริการแก่ชุมชนหรือสังคม โดยไม่ได้ เอารัดเอาเปรียบหรือเห็นแก่ได้ 

กิจกรรมท้ายเรื่องที่ 3 การปฏิบัติตนในฐานะลูกเสือ กศน. เพื่อเป็นจิตอาสาและการบริการ (ให้ผู้เรียนไปทำกิจกรรมท้ายเรื่องที่ 3 ที่สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา)






6.4  เรื่องกิจกรรมจิตอาสา และการให้บริการของลูกเสือ กศน.
                    จากอดีตจนถึงปัจจุบันประชาชนคนไทยมีการทำงานจิตอาสาอย่างหลากหลาย รูปแบบ โดยไม่หวังผลตอบแทน เน้นแรงบันดาลใจให้คนทุกเพศทุกวัย คิดที่จะทำความดี เพื่อสังคม ดังนั้น ลูกเสือ กศน. ก็สามารถที่จะคิดกิจกรรมจิตอาสาและการบริการได้เช่นกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
      1.     จิตอาสารักสะอาด เช่น ทำความสะอาดวัด/สถานศึกษา โดยการกวาดใบไม้แห้ง แยกขยะ ฯลฯ
      2.     จิตอาสารักษ์โลก เช่น ช่วยเหลือสุนัขจรจัด เรี่ยไรเงินช่วยสัตว์เร่ร่อน ปลูกป่า สร้างฝาย ฯลฯ
      3.    จิตอาสาก่อสร้าง เช่น ซ่อม/สร้าง/ทาสีห้องเรียน สร้างศูนย์การเรียนรู้ภายใน ชุมชน ฯลฯ
      4.      จิตอาสาเป็นพี่เลี้ยง เช่น เลี้ยงอาหารผู้ป่วย เล่านิทานให้เด็กกำพร้า อ่านหนังสือ ให้คนตาบอด ฯลฯ
      5.      จิตอาสาบริการ เช่น ลูกเสือจราจร อาสาพาคนข้ามถนน อาสาบริการน้ำดื่ม และอาหาร ฯลฯ

กิจกรรมท้ายเรื่องที่ 4 กิจกรรมจิตอาสา และการให้บริการของลูกเสือ กศน.
(ให้ผู้เรียนไปทำกิจกรรมท้ายเรื่องที่ 4 ที่สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น