วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

9.4 เงื่อนเชือกและการผูกแน่น

เรื่องที่ 4 เงื่อนเชือกและการผูกแน่




 4.1 ความหมายของเงื่อนเชือกและการผูกแน่น เงื่อนเชือก หมายถึง การนำเชือกมาผูกกันเป็นเงื่อน เป็นปม ส าหรับต่อเชือก เข้าด้วยกัน หรือท าเป็นบ่วง ส าหรับคล้องหรือสวมกับเสา หรือใช้ผูกกับวัตถุ ส าหรับผูกให้แน่น ใช้รั้งให้ตึง ไม่หลุดง่าย แต่สามารถแก้ปมได้ง่าย การผูกแน่น หมายถึง การผูกวัตถุให้ติดแน่นเข้าด้วยกัน โดยใช้เชือกหรือ วัสดุคล้ายเชือก ซึ่งมีประโยชน์ต่อลูกเสือเป็นอย่างมากในการเข้าค่ายพักแรมหรือเดินทางไกล
4.2 ความส าคัญของเงื่อนเชือกและการผูกแน่น กิจกรรมลูกเสือ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องการให้ลูกเสือรู้จักใช้วัสดุที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติ เพื่อการด ารงความเป็นอยู่อย่างอิสระและพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด การผูกเงื่อนเชือก เป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งที่ลูกเสือจำเป็นต้องเรียนรู้ เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมในการอยู่ค่ายพักแรม การสร้างฐานกิจกรรมผจญภัย การตั้งค่ายพักแรม รวมทั้งการใช้งานเงื่อนในการช่วยผู้เจ็บป่วยได้
4.3 การผูกเงื่อนเชือกและการผูกแน่น  การเรียนรู้เรื่องการผูกเงื่อนเชือกและการผูกแน่น จะต้องจดจำ ทำให้ได้ ผิดพลาดไป หลุด หรือขาด ก็จะเป็นอันตรายต่อชีวิตและสิ่งของเสียหาย ขอแนะน าให้ทุกคน ที่ต้องการน าไปใช้ต้องหมั่นฝึกฝน ศึกษาหาความรู้ ผูกให้เป็น นำไปใช้งานให้ได้ถึงคราวจำเป็น จะได้ใช้ให้เกิดประโยชน์

วิธีการผูกเงื่อนเชือกแบ่งออกเป็นลักษณะการใช้งานได้ 3 หมวด 10 เงื่อน ดังนี้
 1. หมวดต่อเชือก สำหรับการต่อเชือกเพื่อต้องการให้ความยาวของเชือก เพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากเชือกในการกู้ภัยนั้นมีลักษณะและขนาดที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมี วิธีการผูกเงื่อนที่แตกต่างกัน
 จำนวน 3 เงื่อน 
ดังนี้ 1.1 เงื่อนพิรอด (Reef Knot หรือ Square Knot) 
1.2 เงื่อนขัดสมาธิ (Sheet Bend) 
1.3 เงื่อนประมง (Fisherman’s Knot)
 2. หมวดผูกแน่น ฉุดลาก รั้ง  สำหรับการผูกวัสดุที่ต้องการจะเคลื่อนย้าย หรือยึดตรึงอยู่กับที่ แต่เนื่องจากวัสดุที่ต้องการจะผูกนั้นมีลักษณะรูปทรงและขนาดที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีวิธีการผูกเงื่อนที่แตกต่างกัน จำนวน 3 เงื่อน ดังนี้  
2.1 เงื่อนผูกร่น (Sheep Shank)
 2.2 เงื่อนตะกรุดเบ็ด (Clove Hitch)
2.3 เงื่อนผูกซุง (Timber Hitch)
3. หมวดช่วยชีวิต ส าหรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรณีต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับ สถานที่และสถานการณ์ จึงต้องมีวิธีการผูกเงื่อนให้เหมาะสมกับงาน จำนวน 4 เงื่อน ดังนี้
3.1 เงื่อนเก้าอี้ (Fireman’s Chair Knot)
3.2 เงื่อนบ่วงสายธนู (Bowline Bend)
3.3 เงื่อนขโมย (Knot Steal)
3.4 เงื่อนบันไดปม (Ladder knot) การผูกเงื่อนเชือก การผูกเงื่อนที่ส าคัญและควรเรียนรู้ มีดังนี้ เงื่อนพิรอด เป็นเงื่อนสัญลักษณ์ในเครื่องหมายลูกเสือโลก แสดงถึงความเป็น  พน่ีอ้งกนัของขบวนการลกูเสอืทว่ัโลก และแทนความสามคัคขีองลกูเสือมีขีัน้ตอนการผกู ดังนี้

เงื่อนพิรอด


เงื่อนขัดสมาธิ 


เงื่อนกระหวัดไม้


เงื่อนบ่วงสายธนู


เงื่อนตะกรุดเบ็ด 


เงื่อนประมง 


เงื่อนผูกซุง 

เงื่อนผูกรั้ง


เงื่อนปมตาไก่ 


ผูกประกบสามแบบพันหวัเชือก (Sailmaker’s Lashing) 









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น