องค์การลูกเสือโลก สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยความมีเอกภาพ (UNITY) และเป็นแกนกลางให้
องค์การสมาชิกฯ
ทั่วโลก
ได้พัฒนากิจการลูกเสือของตนให้มีความก้าวหน้า
เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนของชาติ เป็นพลเมืองดีที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและประเทศชาติได้ก็ต้องอาศัยสาระสำคัญของกิจการลูกเสือซึ่งประกอบด้วย
-
วัตถุประสงค์ (Purpose)
-
หลักการ (Princeples)
-
วิธีการ (Method)
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
วัตถุประสงค์ (PURPOSE)
วัตถุประสงค์ของขบวนการลูกเสือ คือ การช่วยให้เยาวชนได้รับการพัฒนาศักยภาพทางร่างกาย
สติปัญญา จิตใจ และสังคมให้สมบูรณ์อย่างเต็มที่และเป็นรายบุคคล
เพื่อให้เป็นพลเมืองดีที่มีความรับผิดชอบและเป็นสมาชิกที่ดีของท้องถิ่น ของชาติ
และของชุมชนระหว่างประเทศ ตามที่ธรรมนูญ
ลูกเสือโลกได้บัญญัติเอาไว้ดังนี้
“
The purpose of the Scout Movement is to contribute to the development of young
people in achieving their full physical, intellectual, social and spiritual
potentials as individuals, as responsible citizens and as members of their
local, national and international communities ”
วัตถุประสงค์ของขบวนการลูกเสือ ซึ่งบัญญัติไว้ในลูกเสือโลกนี้ คือ คำจำกัดความที่สรุปมาจากแนวคิดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์
หลักการ และวิธีการ (หรืออาจจะกล่าวได้ว่าจากอุดมการณ์) ของ ลอร์ด
เบเดน เพาเวลล์ ผู้ให้กำเนิด ดังตัวอย่างคำพูดของ บี.พี. ซึ่งได้กล่าวไว้ และยกมาเป็นตอน ๆ
เพียงบางตอน ดังนี้
“
แนวความคิดที่ยอมรับกันระหว่างประเทศ คือ หลักแห่งภราดร
(brotherhood) เท่านั้นที่สามารถจรรโลงให้โลกของเราหลุดพ้นจากความวุ่นวายโกลาหลได้อย่างแท้แน่นอน”
“
ฉันมีความคิดว่า ความสำเร็จในชีวิต
คือ ความสุขที่แท้จริง ซึ่งคนทุกคนไม่ว่ามั่งมีหรือยากจน ก็สามารถหาได้ ”
วัตถุประสงค์ของการพัฒนาลูกเสือ
เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจและศีลธรรม
ให้เป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบ
และช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคีและเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้
เพื่อความสงบสุข และความมั่นคงของประเทศชาติตามแนวทางดังต่อไปนี้
(1) ให้มีนิสัยในการสังเกตจดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง
(2) ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
(3) ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
(4) ให้รู้จักทำการฝีมือ และฝึกฝนให้ทำกิจการต่างๆตามความเหมาะสม
(5) ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณีวัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ
หลักการของลูกเสือ
คณะลูกเสือแห่งชาติ ( The
National Scout Organization of Thailand ะ NSOT
) ได้จดทะเบียนเป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลก เมื่อ พ.ศ. 2465
ดังนั้นในฐานะที่ เป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลก จะต้องปฏิบัติตามหลักการ
วัตถุประสงค์ และวิธีการของ ลูกเสือตามที่องค์การลูกเสือโลกได้กำหนดอย่างเคร่งครัด
นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาต้องยึดมั่นในวัตถุประสงค์ของ
คณะลูกเสือแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2528 (มาตรา 7)
และปฏิบัติ ตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตร
และวิชาพิเศษลูกเสือ ดังนี้คณะลูกเสือแห่งชาติ
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจและ ศีลธรรม
ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า
เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ ตามแนวทางดังต่อไปนี้
-
ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ
เชื่อพิงและพึ่งตนเอง
-
ให้ชื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย
และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
-
ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
-
ให้รู้จักทำการ และฝึกฝนให้ทำกิจกรรมต่างๆตามความเหมาะสม
-
ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม และความมั่นคงของ
ประเทศชาติทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวข้องลับลัทธิการเมืองใดๆ
นอกจากนี้ ธรรมนูญของสมัชชาลูกเสือ
(สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ, 2521 5 หน้า 25-26 มีบทบัญญัติเกี่ยวลับหลัก สำคัญของลูกเสือไว้ 8 ประการ
คือ
-
หน้าที่ต่อพระผู้เป็นเจ้า/ศาสนา
-
ความจงรักภักดีต่อประเทศชาติของตนเอง
-
ความศรัทธาในมิตรภาพและความเป็นพี่น้องของลูกเสือทั่วโลก
-
การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น
-
การยอมรับและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
-
การเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจ
-
ความเป็นอิสระต่ออิทธิพลทางการเมือง
-
มีกำหนดการพิเศษสำหรับฝึกอบรมเด็กชายและคนหนุ่มเพื่อให้เป็นพลเมืองดี
รู้จักหน้าที่รับผิดชอบ โดยอาศัยวิธีการระบบหมู, ระบบกลุ่ม การทดสอบเป็นขั้นๆ และ
เครื่องหมายวิชาพิเศษ
และกิจกรรมกลางแจ้ง
กล่าวโดยสรุป
หลักการของลูกเสือมุ่งพัฒนาเด็กให้เป็นพลเมืองดี มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ
และรู้จักบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ด้านสังคม โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น