วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

5.2 ผลกระทบจากการขาดวินัย




โทษของการขาดความรับผิดชอบ
             ในการทำงานใดใดก็แล้วแต่ความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การที่คนเราไม่มีความรับผิดชอบมันจะเป็นจุดเริ่มต้นของความล้มเหลวทั้งหมด ลองคิดดูถ้าหากคนทุกคนในบ้านซึ่งเป็นหน่วยเล็กของประเทศต่างขาดความรับผิดชอบในบทบาท  และหน้าที่ของตนแล้วจะเกิดอะไรขึ้น จากสังคมครอบครัวสู่สังคมโรงเรียน ชุมชนและประเทศชาติ ถ้าทุกคนละเลยและไม่รับผิดชอบในหน้าที่ของตนจะเกิดอะไรขึ้น สังคมคงจะวุ่นวาย ขาดระเบียบ ทุกอย่างไม่เป็นไปตามระบบและไม่บรรลุจุดมุ่งหมายที่วางหรือคาดหวังไว้คนที่ขาดความรับผิดชอบ ย่อมจะไม่เป็นที่ต้องการและไม่ได้รับความไว้วางใจในการทํางานสําคัญใดๆจากเพื่อนร่วมงานทั้งยังได้รับคำ ตําหนิในการทํางาน ทำให้บุคคลนั้นกลายเป็นคนเฉื่อยชา ขาดความกระตือรือร้น ไม่สามารถแก้ไขอุปสรรคใดๆได้ ต้องพึ่งผู้อื่นอยู่เสมอ กลายเป็นคนไม่มีความสามารถ และไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง อีกทั้งคนที่ขาดความรับผิดชอบ มักจะทํางานใดๆไม่บรรลุจุดหมาย ไม่ทันเวลาแถมยังเป็นตัวถ่วงทำให้ผู้อื่นไม่สามารถสานงานต่อจากผู้ที่ไม่รับผิดชอบได้
               การขาดความรับผิดชอบนอกจากจะทำให้งานไม่เสร็จทันเวลาแล้ว ยังเป็นการบ่มเพาะนิสัยไม่รับผิดชอบจนกลายเป็นความ
เคยชินทำให้ตนเองขาดความก้าวหน้าในชีวิตและสังคม ทําให้สังคมวุ่นวายไม่เรียบร้อย ไม่มีระเบียบและอาจจะไม่มีใครอยากร่วมงานด้วยเพราะคนที่ไร้ความรับผิดชอบจะเป็นตัวถ่วงในการทำงานต่างๆเสมอ ส่งผลให้งานไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนดส่งและอาจทำให้งานไม่เรียบร้อยอีกด้วย
                   การที่เป็นคนขาดความรับผิดชอบนั้น ส่งผลให้คนรอบข้างหรือผู้คนในสังคม มองคนที่ขาดความรับผิดชอบในทางที่ไม่ดี และในอนาคตหากคนที่ไม่รับผิดชอบต้องไปทำงานในหน่วยงานใหญ่หรือองค์กรใหญ่ๆเช่น ประเทศชาติย่อมส่งผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและด้านอื่นๆ ประเทศชาติจะต้องเสียผลประโยชน์ ไม่พัฒนากลายเป็นประเทศล้าหลัง ขาดพันธมิตรเป็นต้น
                   คนที่ขาดความรับผิดชอบจะไม่มีใครเชื่อถือ ไม่มีใครอยากยุ่งเกี่ยว กลายเป็นคนที่สังคมรังเกียจ ขาดเพื่อนทำให้เขาอยู่ในสังคมอย่างไม่มีความสุขซึ่งอาจจะก่อให้เกิดเป็นปัญหาสังคมได้ในภายหลัง ทั้งนี้คนที่ขาดความรับผิดชอบแล้วไม่รู้จักพัฒนาหรือปรับปรุงตนเอง สุดท้ายแล้วก็จะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน
                  ดังนั้นเราจึงควรฝึกความรับผิดชอบตั้งแต่ในวัยเยาว์เพื่อเป็นรากฐานและเป็นนิสัยติดตัวไปตลอดชีวิตจะได้ไม่ก่อให้เกิด
ปัญหาหรือเป็นตัวถ่วงผู้อื่น เมื่อเรารู้จักรับผิดชอบในงานของตน ผลลัพธ์ที่ออกมาก็จะเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย ฉะนั้น  เราจะเห็นได้ว่า การขาดความรับผิดชอบของคนเพียงคนเดียวจะส่งผลกระทบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ยิ่งถ้าเป็นหน่วยงานหรือองค์กรใหญ่ๆความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะมากขึ้นตามลำดับ เราจึงควรตระหนักอยู่เสมอว่า ความรับผิดชอบคือหัวใจสำคัญที่จะต้องมีอยู่ในตัวของทุกๆคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ยิ่งถ้าหากว่าเรามีหน้าที่หรือตำแหน่งที่ใหญ่โตเราต้องยิ่งตระหนักถึงความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนมากกว่าผู้น้อยหลายร้อยเท่า เพราะถ้าเราขาดความรับผิดชอบในบทบาทและหน้าที่ของตนแล้วนั้น ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นคงประเมินค่ามิได้
ความรับผิดชอบจึงเป็นจุดเริ่มต้นลำดับแรกๆที่จะนำพาและบ่มเพาะนิสัยอื่นๆในทางที่ดีให้แก่ผู้ที่รู้จักรับผิดชอบ ให้เขาประสบความสำเร็จในด้านต่างๆทั้งหน้าที่การงานและชีวิต ทั้งยังเป็นต้นแบบให้ลูกหลานได้ยึดถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างต่อไป
โทษของการขาดความรับผิดชอบ
                       สถานการณ์ปัจจุบันปัญหาเด็กในสังคมไทยนับวันจะรุนแรงมากขึ้นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่แข่งขันกันอย่างเสรีต่อสู้กันทางการตลาด กระตุ้นและเร่งเร้าให้ผู้คนนิยมการบริโภคผ่านสื่อ เทคโนโลยีต่างๆรวมทั้งวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัตน์ทำให้โครงสร้างของสังคมไทยอ่อนแอ ต้นทุนทางสังคม ศาสนาภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมไทยที่เป็นเอกลักษณ์แสดงให้เห็นความเป็นตัวตนของไทยถูกละเลยและถูกปฏิเสธจากเด็กและเยาวชน เด็กและเยาวชนส่วนหนึ่งจึงได้รับการหล่อหลอมจากบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เยาวชนมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีงาม มีค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์ ขาดคุณธรรม จริยธรรมในเรื่องความรับผิดชอบ ขาดระเบียบวินัย ความขยันหมั่นเพียรและความซื่อสัตย์ พ่อแม่ผู้ปกครองไม่มีเวลาอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน สถาบันครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปตามโลกาภิวัตน์ ทำให้ความสัมพันธ์ของครอบครัวลดน้อยลง ขาดการเอาใจใส่และละเลยในการปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของสังคมไทยให้กับเยาวชนเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็ก
    การศึกษามีหน้าที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนตนในชาติปลูกฝังและสร้างความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นกับเยาวชนด้วยกระบวนการทางการศึกษาเพื่อลดปัญหาและเพิ่มความสุขให้เกิดขึ้นสังคมความรับผิดชอบ เป็นลักษณะของความเป็นพลเมืองที่ดีที่สำคัญอย่างหนึ่ง ความรู้สึกรับผิดชอบเป็นลักษณะนิสัยและทัศนคติของบุคคลซึ่งเป็นเครื่องผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามระเบียบ เคารพสิทธิของผู้อื่น ทำตามหน้าที่ของตนเองและมีความซื่อสัตย์สุจริต การที่บุคคลมีความรับผิดชอบจะช่วยทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปด้วยความราบรื่น สงบสุข นอกจากนี้ความรับผิดชอบยังเป็นคุณธรรมที่สำคัญในการพัฒนาประเทศหากคนในชาติขาดความรับผิดชอบย่อมเกิดผลเสียมากมาย ดังนี้
    1.คนที่ขาดความรับผิดชอบย่อมทำงานทุกอย่างไม่สำเร็จตามเป้าหมายและไม่ทันเวลา
    2.คนที่ขาดความรับผิดชอบย่อมขาดความน่าเชื่อถือ ไม่ได้รับการยกย่องและยอมรับจากผู้อื่น
    3.คนที่ขาดความรับผิดชอบจะทำให้ตนเองเสื่อมเสียและสังคมเสียหาย
    4.คนที่ขาดความรับผิดชอบย่อมไม่ได้รับความไว้วางใจในการทำงานสำคัญใดๆและมักจะได้รับคำตำหนิในการทำงาน
    5.คนที่ขาดความรับผิดชอบจะเป็นคนเฉื่อยชา ไม่สามารถแก้ไขอุปสรรคใดๆได้ ต้องพึ่งผู้อื่นอยู่เสมอ กลายเป็นคนไม่มีความสามารถและไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง
    6.คนที่ขาดความรับผิดชอบไม่ก่อให้เกิดความก้าวหน้าในสังคม ทำให้สังคมวุ่นวายไม่เรียบร้อย ไม่มีระเบียบ
    7.คนที่ขาดความรับผิดชอบจะเป็นคนที่ขาดการวางแผนที่ดี
8.คนที่ขาดความรับผิดชอบ จะกลายเป็นคนไม่มุ่งมั่น ไม่มีเป้าหมายในการทำงาน ขาดความกระตือรือร้น เป็นคนขี้เกียจ
ทำให้ไม่เจริญในหน้าที่การงาน
    9.คนที่ขาดความรับผิดชอบ จะเป็นคนที่ไม่มีมนุษย์สัมพันธ์กับทุกคน ทำให้อยู่ในสังคมอย่างไม่มีความสุข
    10.คนที่ขาดความรับผิดชอบ ย่อมไม่มีทางประสบความสำเร็จในชีวิตและทุกๆเรื่อง
    11.คนที่ขาดความรับผิดชอบ จะไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆได้
    12.คนที่ขาดความรับผิดขอบ จะกลายเป็นคนไม่ตรงต่อเวลา
    13.คนที่ขาดความรับผิดชอบ จะเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย
14.คนที่ขาดความรับผิดชอบ จะกลายเป็นคนไม่ซื่อสัตย์ ไม่ซื่อตรงทั้งต่อตนเองและสังคม
15.คนที่ขาดความรับผิดชอบ จะเป็นคนที่ไม่มีศักยภาพในตนเอง
16.เกิดความเสียหายต่อการงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ
17.ไม่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของสังคม
18.กลายเป็นคนขี้กลัวไม่มั่นใจในตนเอง
19. ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต และหน้าที่การงาน
20. คนที่ขาดความรับผิดชอบ ย่อมจะไม่ได้รับความไว้วางใจในการทำงานสำคัญใดๆและมักจะได้รับคำตำหนิในการทำงาน 
       21. คนที่ขาดความรับผิดชอบ จะเป็นคนเฉื่อยชาไม่สามารถแก้ไขอุปสรรคใดๆได้ ต้องพึ่งผู้อื่นอยู่เสมอ กลายเป็นคนไม่มีความสามารถ และไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง 
       22. คนที่ขาดความรับผิดชอบ มักจะทำงานใดๆไม่บรรลุจุดหมาย ไม่ทันเวลา 
   23. คนที่ขาดความรับผิดชอบ ไม่ก่อให้เกิดความก้าวหน้าในสังคม ทำให้สังคมวุ่นวายไม่เรียบร้อย ไม่มีระเบียบ บทสรุป เราะจะเห็นได้ว่า ความรับผิดชอบมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิต ดังนั้นจำเป็นจะต้องพัฒนากำลังพลให้เป็นผู้มีความรับผิดชอบ โดยการหาแนวทางส่งเสริมหรือสร้างความรับผิดชอบในด้านต่างๆให้แก่เยาวชนตั้งแต่เด็กๆเพื่อเป็นรากฐานและเป็นนิสัยติดตัวไปตลอดชีวิตจะได้ไม่ก่อให้เกิดปัญหาหรือเป็นตัวถ่วงผู้อื่น
                   เมื่อเรารู้จักรับผิดชอบในงานของตน ผลลัพธ์ที่ออกมาก็จะเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย ฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่า การขาดความรับผิดชอบของคนเพียงคนเดียวจะส่งผลกระทบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ยิ่งถ้าเป็นหน่วยงานหรือองค์กรใหญ่ๆ ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะมากขึ้นตามลำดับ เราจึงควรตระหนักอยู่เสมอว่า ความรับผิดชอบคือหัวใจสำคัญที่จะต้องมีอยู่ในตัวของทุกๆคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ยิ่งถ้าหากว่าเรามีหน้าที่หรือตำแหน่งที่ใหญ่โตเราต้องยิ่งตระหนักถึงความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนมากกว่าผู้น้อยหลายร้อยเท่า เพราะถ้าเราขาดความรับผิดชอบในบทบาทและหน้าที่ของตนแล้วนั้น ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นคงประเมินค่ามิได้
ความรับผิดชอบจึงเป็นจุดเริ่มต้นลำดับแรกๆที่จะนำพาและบ่มเพาะนิสัยอื่นๆในทางที่ดีให้แก่ผู้ที่รู้จักรับผิดชอบ ให้เขาประสบความสำเร็จในด้านต่างๆทั้งหน้าที่การงานและชีวิต ทั้งยังเป็นต้นแบบให้ลูกหลานได้ยึดถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างต่อไป
1.เกิดความเสียหายต่อการงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ
2.ไม่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของสังคม
3.กลายเป็นคนขี้กลัวไม่มั่นใจในตนเอง
4. ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต และหน้าที่การงาน
5. คนที่ขาดความรับผิดชอบ ย่อมจะไม่ได้รับความไว้วางใจในการทำงานสำคัญใดๆและมักจะได้รับคำตำหนิในการทำงาน 
6. คนที่ขาดความรับผิดชอบ จะเป็นคนเฉื่อยชาไม่สามารถแก้ไขอุปสรรคใดๆได้ ต้องพึ่งผู้อื่นอยู่เสมอ กลายเป็นคนไม่มีความสามารถ และไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง 
7. คนที่ขาดความรับผิดชอบ มักจะทำงานใดๆไม่บรรลุจุดหมาย ไม่ทันเวลา 
8. คนที่ขาดความรับผิดชอบ ไม่ก่อให้เกิดความก้าวหน้าในสังคม ทำให้สังคมวุ่นวายไม่เรียบร้อย ไม่มีระเบียบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น